คงดอกเบี้ยนโยบาย0.5% หั่น จีดีพี ปี64โตแค่1.8%

24 มิ.ย. 2564 558 0

          กนง.มีมติเอกฉันท์ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ระดับ 0.50% พร้อมปรับลดเป้า “จีดีพี” ปีนี้ โตแค่ 1.8% จาก เดิม 3% และปี 65 เหลือ 3.9% จาก 4.7% ผลจากโควิดระลอก 3 ทำให้ ศก.ไทยฟื้นช้าลง ห่วงระบาดรอบใหม่ พร้อมเสนอเร่งอัด มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ-ปรับโครงสร้างหนี้ให้ตรงจุด

          วานนี้ (23 มิ.ย.) นายทิตนั้นที่ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะ เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ที่ ประชุม กันง.มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% เนื่องจากการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกที่ 3 ทำให้ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าลงและไม่ทั่วถึง รวมถึงยังมีแนวโน้มเผชิญ ความเสี่ยงด้านตำอย่างมีนัยสำคัญจากสถานการณ์การระบาด ระลอกใหม่ คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่า การเร่งดำเนินมาตรการ ทางการเงิน โดยเฉพาะสินเชื่อฟื้นฟู รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้าง หนี้จะช่วยภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบได้ตรงจุด มากกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ จบันและพร้อมดำเนินนโยบายการเการเงินที่มีจำกัดวัดในจังหวะที่เกิดประสิทธิผลสูงสุด

          นายทิตนันที่ กล่าวต่อว่า พร้อมกันนี้ กนง.ปรับลดคาดการณ์ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2564 เหลือ 1.8% จากเดิมคาดไว้ที่ 3% และปี 2565 ขยายตัว 3.9% ลดลงจากคาด การณ์เดิมที่4.7% ตามแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงและอุปสงค์ในประเทศี ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกทีสาม ด้านตลาดแรงงานโดยเฉพาะภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระมีความเปราะบางมากขึ้นและอาจจะฟื้นตัวได้ช้า คณะกรรมการฯประเมินว่า เศรษฐกิจไทยยังมีแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากแนวโน้ม การใช้จ่ายภาครัฐที่สูงขึ้นจาก พ.ร.ก. กู้เงินล่าสุดและการส่งออก สินค้าที่ขยายตัวดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่อัตรา เงินเฟ้อทั่วไปเร่งขึ้นชั่วคราวในไตรมาส 2/64 จากฐานราคาน้ำมัน ดิบที่อยู่ในระดับตำในไตรมาสเดี่ยวกันของปีก่อน รวมถึงการเพิ่ม ขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักและข้อจำกัด ด้านอุปทานมีผลจำกัดต่ออัตราเงินเฟ้อไทย

          “เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังมีความเสี่ยงด้านต่ำอย่าง มีนัยสำคัญ จากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น จากการกลายพันธุ์ของไวรัส และประสิทธิผลของวัคซีนที่อาจน้อยลง ดังนั้น โจทย์สำคัญ คือการจัดหาและการกระจายวัคซีนทีเหมาะสม ให้เพียงพอและทันการณ์เพื่อลดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจลงโดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยว หัวต่อประมาณ 4-6 เดือนข้างหน้า ซึ่งคณะกรรมการจะติดตาม พัฒนาการเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และทุกภาคส่วนต้องเร่งรัด ให้มาตรการช่วยเหลือต่างๆ เกิดผลโดยเร็ว เพื่อช่วยประคับประคองเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปให้ได้” นายทิตนันท์ กล่าว

ที่มา: