แบงก์ ชี้ ไวรัสทุบจีดีพี 7.7%
รุนแรงกว่าต้มยำกุ้ง/ระบุไตรมาส2คุมไม่อยู่เจ็บหนักแน่
“สมาคมแบงก์” ประเมินวิกฤติโควิด-19 ทุบจีดีพีไทย 7.7% เศรษฐกิจสูญเงิน 1.3 ล้านล้านบาท แรงกว่าต้มยำกุ้งปี 2540 ชี้หากไตรมาส 2 คุมไม่อยู่กระทบหนักกว่าเดิม
นายปรีดี ดาวฉาย ประ ธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผย ว่า หากมองผลกระทบจากวิกฤติ การระบาดของไวรัสโควิด-19 สามารถประเมินเบื้องต้นเป็นเม็ดเงินสุทธิราว 1.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 7.7% ของจีดีพี โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวรายได้หายไปถึง 1.1 ล้านล้านบาท ทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสหดตัวลึกใกล้เคียงกับปี 2540 และอาจจะลึกกว่านั้น หากการ ระบาดไม่สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาส 2/2563 จะทำ ให้ผลกระทบในเชิงตัวเงินใหญ่ขึ้นอีกจนอาจจะแย่กว่าวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540
ทั้งนี้ จุดแตกต่างที่สำคัญ ระหว่างวิกฤติการระบาดของเชื้อโควิด-19 กับวิกฤติปี 2540 คือ ทางการไทยออกมาตรการให้ความช่วยเหลือที่เร็วและมี ขนาดใหญ่ เพื่อยับยั้งไม่ให้เหตุ การณ์ทรุดลงแรงกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งการจัดการด้านสาธารณสุขและการดูแลเรื่องอาชีพ ปากท้องของประชาชน ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มาตรการด้านการคลังจะเข้ามาเป็นกลไกหลัก ทำให้การอนุมัติ พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้านบาท เป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ต้องเร่งทำ เพื่อดึงงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐต่างๆ มาเป็นทรัพยากรเพิ่มเติมสำหรับตอบวัตถุประสงค์ข้างต้น หลังจากที่งบกลางเดิมได้จัดสรรไปหมดแล้ว
ในอีกด้านหนึ่ง การดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจตลาดการเงินก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะปัจจุ บันตลาดการเงินไทยเชื่อมโยงกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปี 2540 มาก ทำให้ความตื่นตระหนก ไม่ว่าจะมาจากทั้งในและต่างประเทศ ก็สามารถฉุดให้อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนในตลาดการเงินปรับตัวแรง จนกระทบความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ตลอดจนสถานะทางการเงินลูกค้าธุรกิจและครัวเรือนได้
“การรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและตลาดการเงินนี้ ถือเป็นหน้าที่ของมาตรการด้านการเงิน ซึ่งควรเร่งอุดรูรั่วและเร่งสร้าง ความเชื่อมั่นของตลาดก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้น มาตรการซอฟต์โลน (Soft Loan) เพื่อดูแลภาคธุรกิจ พ.ร.ก.ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงินรวม 9 แสนล้านบาทในรอบนี้ จึงจำ เป็นต้องพุ่งเป้าหมายไปที่การจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลตลาดตราสารหนี้เอกชนที่มีขนาดใหญ่ราว 22% ของจีดีพี ซึ่งจะช่วยทั้งตัวกิจการที่ต้องการระดมทุนไปชำระคืนหนี้เดิม และเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ รวมถึงช่วยผู้ลงทุนสถา บันและรายย่อย ซึ่งต้องยอมรับว่าในระยะหลัง ผู้ฝากเงินรายย่อยหันมาออมเงินทั้งทางตรงและทางอ้อมในตราสารหนี้มากขึ้น” นายปรีดีกล่าว
“ผมเชื่อมั่นว่า การดำเนินการต่างๆ ทั้งด้านการเงินและการคลังของภาครัฐ น่าจะทำให้การหดตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้อยู่ในขอบเขตจำกัด และไม่น่าจะลุกลามจนกลายเป็นวิกฤติที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าใน ที่สุดแล้ว สถานการณ์ต่างๆ จะ ยังคงขึ้นอยู่กับว่าการแพร่ระบาด ของเชื้อโควิด-19 จะยุติลงเมื่อใด แต่ก็เชื่อว่าหากมีความจำเป็น ทางการไทยยังมีทรัพยากรอีก มากเพียงพอที่จะประคับประ คองเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน” นายปรีดีกล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์