ธปท.สกัดฟองสบู่ คริปโท
“เตือนเสี่ยงสูง - ผนึก‘ก.ล.ต.‘เร่งออกกฎกำกับ
“กสิกรไทย"ชี้ลงทุนมากกว่า50%ของพอร์ต
แบงก์ชาติสกัดตลาด คริปโทเคอร์เรนซีโตแรง เร่งหารือก.ล.ต. วางแนวทางกำกับ ย้ำไม่ห้ามแต่กังวล “เสถียรภาพราคา” หากใช้ชำระค่าสินค้าและบริการแทนเงินสด พร้อมห้ามแบงก์เข้าไปซื้อขายโดยตรง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ภาะดอกเบี้ยต่ำหนุนนักลงทุนแสวงหาผลตอบแทนสูงมากขึ้น
ความร้อนแรงของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซีในไทย ที่มีมูลค่าซื้อขายจาก 3 กลุ่มนักลงทุนหลักคือบุคคลธรรมดาในประเทศ บุคคลธรรมดา ต่างประเทศ และนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งข้อมูลเดือนพ.ย.2564 มีมูลค่ากว่า 2.21 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. ที่อยู่ที่ 1.41 แสนล้านบาท และมีจำนวนบัญชี นักลงทุนทั้งตลาด ณ สิ้นต.ค.64 มากกว่า 1.77 ล้านบัญชี ทำให้ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) แสดงความกังวล และออกมาเตือนประชาชน ภาคธุรกิจ ถึงความเสี่ยง ที่จะตามมา
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการ อาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธปท. กล่าวว่า ธปท.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และและตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือพิจารณ รูปแบบการกำกับดูแลการให้บริการ รับชำระค่าสินค้าและบริการด้วย สินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อเข้าไปดูแล ความเสี่ยง ทั้งต่อภาคธุรกิจ และประชาชนผู้ที่ใช้เงินดิจิทัลในการชำระเงิน ซึ่งคาดว่า จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการเข้าไปกำกับเร็วๆนี้
ดังนั้นการออกมาเตือนเรื่องการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลก่อนหน้านี้ ถือเป็น การออกมาเตือน เพื่อให้ประชาชน รู้ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ในด้าน การชำระเงิน เพราะหากธปท.ออกมา เตือนช้า ประชาชน หรือภาคเอกชนอาจมีการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการชำระเงิน มากขึ้น จนอาจเกิดความเสียหาย และอาจทำให้เกิดต้นทุนในการสร้างสูงมากที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
หากปล่อยให้เกิดการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่มีการกำกับดูแล ก็เชื่อว่า จะนำมาสู่ความเสี่ยงได้ เช่นเดียวกันกับการปล่อยให้คริปโทฯถูกใช้แพร่หลายมากขึ้น จากหลากหลายรูปแบบ เหล่านี้อาจทำให้เกิดความสับสนใจการแง่การทำบัญชีการทำธุรกิจ และเกิดต้นทุนต่อผู้ประกอบการได้
“ภายใต้การใช้สินทรัพย์ดิจิทัล อย่างแพร่หลาย ธปท.เห็นทั้งประโยชน์ และข้อจำกัด และแนวโน้มที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ก็เป็นสิ่งที่เรากังวล ในด้านการนำมาชำระเงิน ดังนั้นสิ่งที่ธปท.พยายามคุยกับหน่วยงานกำกับ และพยายามเร่งให้พวกนี้ออกมาโดยเร็ว ซึ่งเราไม่ได้ห้าม แต่เราเป็นห่วง ทำให้เราออกมาส่งสัญญาณเตือน เพราะเราไม่อยากให้ประชาชน หรือเอกชนเข้าไปลงทุนก่อนที่จะมีความชัดเจนในด้านกำกับ เพราะสุดท้ายหากทางการออกมาห้าม ก็ต้องมาแก้กันอีก และที่เห็นคนเข้าไปลงทุน หรืออกคริปโทฯวันนี้ก็ไม่ได้ผิดกฎหมาย เพราะอยู่ที่ความเสี่ยงของแต่ละบุคคลที่สามารถรับได้”
ห้ามแบงก์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
ส่วนกรณีที่เห็นแบงก์มีการประกาศเข้าไปลงทุน หรือทำธุรกิจเกี่ยวกับคริปโทฯ มากขึ้นนั้น เจตนารมณ์ของธปท.ยังคงเดิมคือยังไม่อยากให้แบงกเข้าไป เป็นตัวกลางที่เกี่ยวกับกับการซื้อขายสินทรัพย์ ดิจิทัล เพราะแบงก์มีเรื่องของเงินฝาก และการดูแลประชาชน ที่อาจมีความเสี่ยงตามมา เพื่อให้เหล่านี้ไม่กระทบต่อ เงินฝาก ซึ่งยังเป็นเป้าหมายในการ เข้าไปดูแลกำกับสถาบันการเงิน ของธปท.
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือการเข้าไปถือหุ้นของแบงก์ในบริษัทลูก ซึ่งการเข้าไปในลักษณะจะเหมือนกับ ที่แบงก์เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ใดหนึ่ง ซี่งในพอร์ตอาจมีตัวหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นหากเกิดความเสี่ยง ก็ต้องมีการดำรงเงินกองทุนฯ เพื่อไม่ให้กระทบ ต่อความมั่นคงของแบงก์หรือผู้ฝากเงินในระยะข้างหน้า
ด้านนายกษิดิศ ตันสงวน รองผู้อำนวยการ กลุ่มงานยุทธ์ศาสตร์ องค์กร ธปท.กล่าวว่า ประโยชน์ของ สินทรัพย์ดิจิทัล จะช่วยทำให้การทำ ธุรกรรมทางการเงินคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และช่วยแก้ Pain point ปัญหาของ ภาคธุรกิจได้ และทำให้ต้นทุนต่ำลง ทำให้คนเข้าถึงการลงทุนได้มากขึ้น ขณะเดียวกันเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาคุกคามการทำธุรกิจ และทำให้บทบาทของตัวกลางมีบทบาทที่ลดลง
รวมถึงทำให้เกิดการสร้างการแข่งขันในด้านการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ต่างๆ และทำให้เกิดการต่อยอดนวัตกรรม เพื่อทำให้การทำธุรกิจมีประสิทธฺภาพ มากขึ้น
ชำระเงินได้ต้องมูลค่าไม่ลด ปลอดภัยสูง
สำหรับหน้าตาสินทรัพย์ดิจิทัล ที่จะใช้ชำระเงินได้ และเป็นสื่อของ การใช้ชำระเงิน สิ่งนั้นต้องเข้าถึงได้ง่าย เช่นเงินสด ไม่ต้องมีอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ ที่มีสภาพคล่อง จ่ายง่าย สามารถคง มูลค่าได้ มูลค่าไม่ลดลง ตัวเองต้อง คงมูลค่าของตัวมันเองได้ และสุดท้าย ต้องปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับจาก ผู้ใช้และผู้รับ
อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ดิจิทัล มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ออก โดยสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเช่น Blank coin ไม่มีอะไรหนุนหลัง ราคาผันผวนสูง แต่ที่ธปท.สนใจ คือ Stablecoin คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง
ทั้งนี้หากนำสินทรัพย์ดิจิทัล มาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระเงิน เห็นชัดว่า จะต้องดูแลและบริหารจัดการด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ดีพอ เช่น มีความรู้ในการถึงสินเชื่อทรัพย์ดิจิทัล แต่หากไม่มีความสามารถเก็บสินทรัพย์ตัวนี้ หรืออาจโดนแฮกได้ ดังนั้นต่อให้รับความผันผวนได้ แต่ก็กังวลเรื่องนี้ เพราะธปท.อาจไม่ได้เก่งในการดูแลเรื่องเหล่านี้
“การใช้สินทรัพย์ดิจิทัล สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ แต่มีขอบเขตจำกัด แต่หากขยายมากขึ้น ระบบมีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ก็อาจนำมาสู่ความเสี่ยงได้”
คริปโทฯท้าทายบทบาทธปท.
นายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหาภาค ธปท. กล่าวว่า ในหลักการในแง่สินทรัพย์ดิจิทัล ธปท.กังวลทุกเรื่องไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่กังวลมากคือนำมาเป็นสื่อกลาง การชำระเงิน เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัล มีหลายประเภท ซึ่งบางประเภท เช่น Blank coin ที่ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง อาจจะเกิดความเสี่ยงในเรื่องของการรักษามูลค่าของเงินได้ ซึ่งอาจจะเกิด ความผันผวนได้ ส่วนในเรื่องของ การลงทุนขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละคน
อย่างไรก็ตามบทบาทของธปท. ไม่ได้เปลี่ยนไป สิ่งที่ธปท.ดำเนินการเพื่อดูแลความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน ของประชาชน ซึ่งมี 3 มิติด้วยกัน ด้านแรกคือ ทำเงินให้เป็นเงิน ทำรักษา ค่าของเงินตรา ให้มูลค่ายังคงเดิม เช่นเดียวกันที่ธปท.ดูแลเงินเฟ้อ ดูแล อัตราแลกเปลี่ยน เพราะเหล่านี้สะท้อนค่าของเงิน
มิติที่สอง คือดูแลไม่ให้ระบบ เศรษฐกิจกระแทกจนเกินไป โดยการ ทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ดูแล ให้ภาวะการเงินสอดคล้องกับภาวะ เศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา มิติที่สาม คือ การเป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย
ดังนั้นหากมีการนำดิจิทัลเคอเรนซี่ มาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น และมาทดแทนเงินบาท 3 บทบาทเหล่านี้จะอาจเปลี่ยนไป ธปท.อาจไม่สามารถเข้าไปดูแลเหรียญ เหล่านั้นได้ ทำให้ความสามารถดูแล ภาวะการเงิน ให้สอดคล้องภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลาก็จะน้อยลง
“การเป็นธนาคารกลาง หน้าที่หลัก คือ การดูแลเสถียรภาพ ดูแลความ เข้มแข็ง ฉะนั้นเสถียรภาพคือนิยาม ที่เราอยากให้เป็น ดังนั้นหน้าที่เรา หากมีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ อาจทำให้การทำหน้าที่ของเราทำได้ไม่เต็มที่ จึงเป็นจุดที่เราห่วง”
จับตาปีหน้าออกภูมิทัศน์ใหม่
อย่างไรก็ตาม การเข้าไปกำกับดูแลในอนาคต จะอยู่ภายใต้ การดูแลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด โดยที่ผ่านมามีผู้ประกอบการได้เข้ามาคุยบ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในโมเดล เพื่อเกณฑ์การดูแลออกมาดีที่สุดในระยะข้างหน้า
ทั้งนี้ ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 จะมีการออกบทความภูมิทัศน์ทางการเงิน Consultation papar financial Landscape ในเรื่องแนวโน้มของ ระบบการเงินดิจิทัลในระยะข้างหน้า ซึ่งจะมีในเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้เห็นทิศทางของสินทรัพย์ดิจิทัลใน ระยะข้างหน้าด้วย
ดอกเบี้ยต่ำหนุนลงทุนคริปโทฯ
นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ช่วงภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ มีแนวโน้มที่นักลงทุนรายย่อยไทย จะแสวงหาผลตอบแทน จากการเข้าไปเก็งกำไร เห็นได้จาก Google Trend พบว่า คนไทย Search หาคำว่า Bitcoin และ Defi เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในจังหวะที่ราคาเพิ่มขึ้น เช่นกลุ่มตัวอย่าง 548 คนพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทน ลงทุนเพิ่มขึ้น ลงทุนในดิจิทัลสัดส่วนสูงสุดมากกว่า 50% ของพอร์ตเพื่อเก็งกำไรและคาดหวังราคาเพิ่มขึ้น
“แต่ตลาดคริปโทมีความผันผวน สูงถึง 68% ในรอบปีที่ผ่านมา จึงอยากให้นักลงทุนเพิ่มความรู้ควบคู่กับ ช่องทางการลงทุนในคริปโต และระวังอย่างเท่าทันด้วย”
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ