ขุนคลังเล็งต่อเวลาพักหนี้เกิน 2 เดือนหวังพยุงธุรกิจฟื้น

19 Jul 2021 557 0

         นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนา Thailand Economic Monitor เส้นทางสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จัดโดยธนาคารโลกว่า รัฐบาลได้วาง 3 แนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป ได้แก่ 1.มาตรการช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบโควิด-19 โดยเฉพาะ มาตรการระยะสั้น เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น ซึ่งจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ว่าจะต้องยืดอายุมาตรการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยออกไปอีกหรือไม่ เนื่องจากระยะ 2 เดือนอาจไม่เพียงพอให้ภาคธุรกิจได้ฟื้นตัว

          2.การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจใน 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่เน้นการลดใช้พลังงานและเน้นไปที่พลังงานสะอาดมากขึ้น (2) การมุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (3) การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ หรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านนโยบายส่งเสริมรถยนต์ ไฟฟ้า (อีวี) และ (4) การส่งเสริมท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ

          3.การบริหารเศรษฐกิจมหภาค เช่น การปฏิรูปการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ การส่งเสริมการลงทุนที่ทำให้เม็ดเงินลงสู่เศรษฐกิจฐานราก และการดึงส่งเสริมให้คนไทยเข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคมหรือประกันสุขภาพมากขึ้น เช่น กองทุน ประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนต่าง ๆ บัตรสวัสดิการ เป็นต้น

         ปีนี้เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณดีขึ้น จากการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น รัฐบาลได้เริ่มเปิดประเทศ เริ่มที่ภูเก็ตแซนด์บอกซ์ และล่าสุดได้เปิดสมุยพลัสโมเดล โดยรายได้ จากภาคการท่องเที่ยว มีส่วนสำคัญต่อการ ฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ดังนั้น รัฐบาลจะเปิด ประเทศควบคู่การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจ เพื่อหนุนให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ได้ดีขึ้น และมองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 และปี 2565 จะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป”

          รมว.คลังกล่าวว่า จากการใช้มาตรการเข้มงวด เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดใน 10 จังหวัด รัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยา ซึ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม เป็นหลัก รวมทั้งการช่วยเหลือลดภาระ ค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าเทอม ขณะที่ มาตรการทางการเงิน นอกจากมาตรการ ยืดเวลาการชำระหนี้ไปถึงสิ้นปี 2564 แล้ว ยังได้มีการยกระดับมาตรการด้วยการพัก ชำระหนี้ทั้งต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 2 เดือน ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งโครงการคนละครึ่ง และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ยังคงดำเนินการตามแผน

          น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า จากการเผชิญสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา บทเรียนที่สำคัญ คือ ภาคการคลัง เป็นส่วนสำคัญมากในการดำเนินมาตรการบรรเทาวิกฤต โดยใช้นโยบายการคลังเป็น หลัก เนื่องจากภาคเอกชนเดินไม่ได้ ซึ่งใน ระยะนี้ยังต้องใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว ยังต้องขาดดุลอยู่ ส่วนจะมีการกู้เงินเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ตอนนี้ยังมีเม็ดเงิน แต่ถ้ายังมีวิกฤตและต้องกู้เงินเพิ่มจริง ๆ ก็ยังมีช่องว่างที่ทำได้  โดยสามารถ ขยายเพดานหนี้สาธารณะออกไป

          แต่ทั้งนี้จะต้องดูระยะเวลาที่เหมาะสม และจำเป็นเท่านั้น ส่วนในปีนี้แม้จะกู้เต็มที่ ก็ยังสามารถรักษาวินัยการเงินการคลังได้ ตามกรอบวินัยทางการคลัง คือหนี้สาธารณะ ไม่เกิน 60% ของ GDP

Reference: